สมัครเรียนมหาลัย

ทำงานมาหลายปีแล้ว จะสมัครเรียนมหาลัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ไหม? บทความนี้มีคำตอบ

          การเรียนจบวิศวกรรมศาสตร์ในระดับปริญญาตรี นอกจากจะทำให้ได้ทักษะความรู้ ความสามารถที่เพียงพอต่อการนำไปปรับใช้กับการทำงานในอนาคตแล้ว วุฒิปริญญายังเปรียบเสมือนใบเบิกทาง ให้หลายแง่มุมในชีวิตอีกด้วย เช่น เป็นข้อกำหนดในการปรับตำแหน่งงาน ซึ่งจะทำให้ได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

            ดังนั้น จึงไม่แปลกใจเลยที่ทุกวันนี้ จะเห็นคนรุ่นก่อนที่เรียนจบสายอาชีพด้วยวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า กำลังมองหาลู่ทางที่จะสมัครเรียนมหาลัยอีกครั้ง เพื่ออัปเกรดความรู้ และพัฒนาความก้าวหน้าในชีวิต

            แต่เชื่อว่าคนที่ห่างหายจากการเรียนไปนาน คงจะสงสัยกันอยู่ไม่น้อย ว่าทำงานมาหลายปีแล้ว จะยังกลับไปเรียนวิศวกรรมศาสตร์ในระดับปริญญาตรีได้อยู่ไหม?

            สำหรับใครที่กำลังสงสัย เราชวนมาหาคำตอบกับบทความนี้เลย

คนทำงานสมัครเรียนมหาลัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ป.ตรีได้ไหม

            คนที่ทำงานแล้ว สามารถสมัครเรียนมหาลัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในระดับปริญญาตรีได้ โดยสมัครได้ทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละสถาบันการศึกษา และข้อจำกัดของตัวผู้เรียน เช่น ภาคปกติ จำเป็นต้องเรียนวันจันทร์-ศุกร์ เต็มวัน เหมาะกับคนทำงานเป็นเจ้าของกิจการ หรือมีเวลาการเข้า-ออกงานที่ยืดหยุ่น ส่วนการเรียนภาคพิเศษ ต้องเรียนทุกวันเสาร์-อาทิตย์ จึงเหมาะกับคนที่ทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน และภาระงานไม่ต่อเนื่องไปถึงวันหยุด เป็นต้น

            แต่ทั้งนี้ คนที่จะสมัครเรียนมหาลัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ควรทำงานในสายงานด้านวิศวกรรม เพื่อจะได้มีความรู้ความเข้าใจในการเรียนต่อ และช่วยย่นระยะเวลาในการเรียนให้สั้นลงกว่าปกติได้ เพราะบางสถาบันการศึกษา มีหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้คนทำงานสามารถนำประสบการณ์การทำงานมาเทียบโอนหน่วยกิตได้ด้วย

คนทำงานนำประสบการณ์มาเทียบโอนตอนสมัครเรียนมหาลัยได้อย่างไร

            การทำงานด้านวิศวกรรม ถือเป็นการนำความรู้ความสามารถของคนทำงานมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นบางสถาบันที่เล็งเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ จึงเปิดโอกาสให้คนที่ทำงานด้านนี้ สามารถนำประสบการณ์การทำงานมาใช้เทียบโอนหน่วยกิตตอนสมัครเรียนมหาลัยได้ เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเรียน ด้วยการข้ามการเรียนในบางรายวิชา หรือบางหัวข้อไป เพราะมีความรู้ความสามารถในด้านนั้นๆ เพียงพอแล้ว

            อย่างไรก็ตาม ทางสถาบันการศึกษาจะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป และอาจมีการทดสอบความรู้ของผู้สมัครเรียนก่อนทำการเทียบโอนหน่วยกิต เพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อเรียนจบไปแล้ว ผู้เรียนจะมีความรู้ความสามารถที่ตรงกับมาตรฐานของหลักสูตรอย่างแท้จริง

            เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (MUT) ให้คนทำงานสามารถสมัครเรียนมหาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ เทียบโอนได้ใน 2 ลักษณะ ได้แก่

เรียนจบปวส. หรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

            สำหรับการเรียนปริญญาตรีใบนี้เป็นใบแรก ต้องใช้ทรานสคริปต์ หรือใบแสดงผลการเรียน ส่วนผู้ที่จะเรียนเป็นปริญญาตรีใบที่สอง ต้องใช้เอกสารคำอธิบายรายวิชาประกอบด้วย เพื่อพิจารณายกเว้นไม่ต้องศึกษาในรายวิชาที่กำหนดไว้ในแต่ละหลักสูตร

มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 5 ปีขึ้นไป หรืออายุ 30 ปีขึ้นไป

            ต้องใช้เอกสารรับรองการทำงานจากผู้ประกอบการ แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญในสายงานของตนเอง และใบ Certificate ที่แสดงถึงความชำนาญเฉพาะทาง เพื่อเทียบโอนหน่วยกิต โดยไม่ต้องเรียนในวิชานั้น หรือเรียนแค่บางหัวข้อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์จากการทดสอบความรู้ของผู้สมัครเรียนมหาลัยด้วย

คนทำงานสมัครเรียนมหาลัยคณะวิศวกรรมศาสตร์หลักสูตรใดได้บ้าง

            บางสถาบันอาจเปิดหลักสูตรที่เทียบโอนได้แตกต่างกันไป แต่ที่ MUT เปิดรับการสมัครเรียนมหาลัยแบบเทียบโอนของคนทำงาน มากมายหลายหลักสูตร เช่น วิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และออโตเมชัน วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น

            ที่นี่จึงเป็นอีกหนึ่งสถาบันที่คนอยากเรียนป.ตรี ด้านวิศวกรรม เพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้ และพัฒนาความก้าวหน้าในชีวิต มั่นใจได้ว่า มีหลักสูตรที่พร้อมรองรับทุกความต้องการ

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรเทียบโอน คลิก https://mut.ac.th/bachelor-sat-sun-working-transfer/