รับจํานองขายฝากบ้านและที่ดิน

รับจํานองขายฝากบ้านและที่ดิน มีการดำเนินงานอย่างไร

การทำนิติกรรมเกี่ยวกับการขายฝากบ้านและที่ดินจะมีอยู่หลากหลายแบบในปัจจุบัน ซึ่งรูปแบบที่คนส่วนมากรู้จักกันดีก็คือการจำนองและขายฝาก หากใครต้องการเงินจำนวนมากเพื่อนำไปทำทุน สามารถหาจากการนำบ้านและที่ดินไปเป็นหลักประกันแก่ผู้รับจํานองขายฝากบ้านและที่ดิน โดยจะพูดถึงในบทความนี้เกี่ยวกับการดำเนินงานขายฝากจำนวนบ้านและที่ดินให้ทุกคนรู้จัก 

รับจํานองขายฝากบ้านและที่ดิน มีลักษณะต่างกันอย่างไรบ้าง 

การรับจํานองขายฝากบ้านและที่ดินมีความหมายคนละอย่าง นั่นคือ การขายฝากเป็นการนำเอาทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อ ข้อตกลงคือสามารถไถ่สินทรัพย์คืนได้ในเวลาที่กำหนด ส่วนการจำนองก็เป็นการเอาทรัพย์สินตราให้เจ้าหนี้หรือก็คือผู้รับจำนอง เพื่อเป็นหลักประกันว่าสามารถใช้หนี้ตนเองได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องนำทรัพย์สินมอบเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้รับขายฝากจำนอง มีข้อตกลงว่า ผู้ขายฝากจะนำเงินมาใช้หนี้คืนในเวลาที่กำหนด ลักษณะที่ต่างกันของการจำนองและขายฝากบ้านและที่ดินนั้น มีดังนี้ 

  • ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนของการจำนองจะคิดเป็น 1 เปอร์เซ็นต์แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ไม่กำหนดเวลาไถ่ถอนทรัพย์ โดยจะทำสัญญาที่สำนักงานที่ดิน วงเงินที่ได้จะไม่มากไปกว่า 40 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับราคาตลาดปัจจุบัน 
  • การรับขายฝากจะมีค่าธรรมเนียมจดทะเบียนคิดเป็น 2 เปอร์เซ็นต์ ภาษีธุรกิจ 0-3.3 เปอร์เซ็นต์ อากรแสตมป์ 0.05 เปอร์เซ็นต์ หักภาษี ณ ที่จ่าย กำหนดระยะเวลาไถ่ถอน 10 ปี ทำสัญญาที่สำนักงานที่ดิน และวงเงินที่ได้จะไม่มากไปกว่า 60 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบราคาตลาดปัจจุบัน 

การจำนองและขายฝากบ้านและที่ดิน มีวิธีดำเนินการอย่างไร 

ในส่วนของวิธีดำเนินการขายฝากและจำนองแก่ผู้รับจํานองขายฝากบ้านและที่ดินนั้น สามารถกล่าวได้ดังต่อไปนี้ 

  • วิธีดำเนินการจำนองบ้านและที่ดิน 
  • ผู้จำนองต้องเตรียมเอกสารมอบให้ผู้รับจำนองซึ่งก็คือธนาคาร 
  • ผู้รับจำนองจำมีการประเมินดอกเบี้ย ราคา และวงเงินอนุมัติมากสุดที่กู้ได้ 
  • หลังประเมินราคาก็ทำสัญญาทั้งสองฝ่ายที่กรมที่ดิน 
  • รับเงินจากผู้รับจำนองได้ภายในระยะเวลา 1-2 วัน 
  • วิธีดำเนินการขายฝากบ้านและที่ดิน  
  • ประกาศขายบ้านและที่ดินที่ต้องการจะขายฝาก ซึ่งจะต้องระบุในสัญญาถึงวันและเวลาอย่างชัดเจนให้กับผู้ซื้อฝาก 
  • ผู้ขายฝากเปลี่ยนทรัพย์ตนให้เป็นเงินสดด้วยการส่งใบโฉนดที่ดินให้ผู้รับขายฝาก โดยทำสัญญาที่กรมที่ดิน 
  • เมื่อครบกำหนดสัญญาและมีเงินใช้หนี้มากพอก็สามารถไถ่ถอนทรัพย์สินคืนจากผู้ซื้อฝากได้ 

จากบทความจะกล่าวได้ว่าการดำเนินการขายฝากจำนองบ้านและที่ดินจะมีความแตกแต่งกันในเรื่องรายละเอียดสัญญา ผู้รับจํานองขายฝากบ้านและที่ดินและผู้ขายฝากจำนองต้องทำความเข้าใจ แล้วยังต้องให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดเพื่อความยุติธรรมของทั้งสองฝ่าย